วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

7.การวิเคราะห์แบบจำลองทางอุทกศาสตร์ (Hydrology Model Analysis)

แลบ 7
การวิเคราะห์แบบจำลองทางอุทกศาสตร์ (Hydrology Model Analysis)
            Spatial Analyst เป็นโปรแกรมเสริม ที่มีชุดคำสั่งสนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูลอุทกศาสตร์  ซึ่งอยู่ในส่วนของชุดเครื่องมือ Hydrology ผู้ใช้งานสามารถประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์การไหลของน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำ  โดยเริ่มจากนำเข้าข้อมูล DEM มาวิเคราะห์ด้วยคำสั่งต่างๆ จนกระทั่งได้ผลลัพธ์เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำและข้อมูลแม่น้ำ
1.การเติมเต็มพื้นที่ (Fill)
            เป็นคำสั่งเพื่อการเติมเต็มพื้นที่บริเวณที่เป็นหลุมหรือต่ำกว่าบริเวณทั่วไป  หากบริเวณใดมีความสูงกว่าพื้นที่ทั่วไปจะลดให้ใกล้เคียงพื้นที่นั้นๆ เพื่อให้การไหลของน้ำเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง
-          โดยเริ่มนำเข้าข้อมูล DEM ทีเราจะทำการสร้าง
-          จากนั้นไปที่ Arc Toolbox > Spatial Analyst Tools > Hydrology > Fill  จะได้หน้าต่างดังนี้


-Input surface raster คือ กำหนดข้อมูลพื้นผิวแรสเตอร์ที่เราต้องการสร้าง
-Output surface raster คือ กำหนดชื่อและเก็บผลลัพธ์
            - เมื่อเสร็จให้ > OK จะได้ ผลลัพธ์ที่ทำการ Fill แล้ว สังเกตที่สัญลักษณ์ค่าสูงสุดและต่ำสุดของทั้ง 2 ชั้นข้อมูลต่างกัน


2.การวิเคราะห์ทิศทางการไหล (Flow Direction)
            เป็นการนำข้อมูลที่ผ่านการ Fill มาวิเคราะห์ Flow Direction หรือทิศทางการไหลของน้ำ  ผลลัพธ์ที่ได้จะแสดงเป็นตัวเลขรหัสทิศทาง (Direction Code) ที่บ่งบอกทิศทางการไหล เช่น หมายเลข 16 คือไหลไปทางทิศตะวันตก

-          ขั้นแรกไปคลิกที่ Arc Toolbox > Spatial Analyst Tools > Hydrology > Flow Direction จะได้หน้าต่างดังนี้

-Input surface raster คือ กำหนดข้อมูลที่ Fill แล้ว
-Output flow direction raster คือ กำหนดชื่อและที่เก็บผลลัพธ์
            - เมื่อเสร็จ > OK ผลลัพธ์จะแสดงเป็นค่ารหัสตัวเลข ซึ่งแทนด้วยทิศทางการไหลของน้ำว่าจะไหลไปทิศทางใด  เช่น   4 = ไหลไปทางทิศใต้

3.การวิเคราะห์การไหลสะสม (Flow Accumulation)
            คือการวิเคราะห์ค่าการไหลสะสมของข้อมูลทุกๆ เซลล์  ไปยังเซลล์ที่มีความชันต่ำกว่าซึ่งเป็นจุดออกของน้้า  เพื่อดูแนวทางการไหลสะสมของลุ่มน้ำและสามารถประยุกต์หาพื้นที่ลุ่มน้ำหรือทางไหลออกของน้ำ (Outlet)
-          ไปที่ Arc Toolbox > Spatial Analyst Tools > Hydrology > Flow Accumulation จะได้หน้าต่าง


-Input flow direction raster คือ กำหนดข้อมูลที่ Fill แล้ว เช่น Flow direction
-Output accumulation raster คือ กำหนดชื่อและที่เก็บผลลัพธ์
-Output data type (optional) คือ กำหนดทศนิยม
FLOAT คือ ทศนิยม
INTEGER คือ จำนวนเต็ม
       
ผลลัพธ์ Flow Accumulation





4.การวิเคราะห์ลำดับของลำน้ำ (Stream Order)
            Stream Order คือ ลำดับชั้นของเส้นลำน้ำ (ก่อนจะมาถึงขั้นตอนนี้ต้องผ่านการทำ Flow Accumulation และ Flow Direction) มี 2 รูปแบบ



-          ไปคลิกที่ Arc Toolbox > Spatial Analyst Tools > Hydrology > Stream Order  จะได้หน้าต่าง


-Input stream raster คือ กำหนดผลลัพธ์ที่วิเคราะห์ Flow Accumulation
-Input flow direction raster คือ กำหนดข้อมูลที่ Fill แล้ว คือ Flow Direction
-Output raster คือ กำหนดผลลัพธ์และที่เก็บผลลัพธ์
-Method of stream ordering (optional) คือ กำหนดรูปแบบการสร้าง มี 2 รูปแบบ คือ
STRAHLER และ SHREVE
            เมื่อเสร็จ > OK ผลลัพธ์ Stream Order คือ
แบบ STRAHLER


แบบ SHREVE



5.Stream to Feature
            คือการแปลงข้อมูลแม่น้ำที่เป็นประเภทแรสเตอร์ให้เป็นเวกเตอร์ โดยกำหนดผลลัพธ์ที่ได้เป็น Shapefile
-          ไปคลิกที่ Spatial Analyst Tools > Hydrology > Stream to Feature จะได้


-Input stream raster คือ กำหนดผลลัพธ์ที่วิเคราะห์ Stream Order
-Input flow direction raster คือ กำหนดข้อมูลที่ Fill แล้ว เลือก Flow direction
-Output polyline features คือ กำหนดชื่อและเก็บผลลัพธ์
            จะได้ผลลัพธ์ชั้นข้อมูลแม่น้ำ Stream to features


-          ดูรายละเอียดในตาราง โดยคลิกขวาบน ที่ข้อมูลที่ทำการ Stream to features เลือก Open Attribute Table
-          ทำการเลือกแม่น้ำสายหลักที่มีค่า Grid_Code >= 5  โดยในหน้าต่าง Attribute คลิกที่ Select by Attributes กำหนดค่าดังภาพ


เมื่อเสร็จคลิก Apply จะได้เส้นแม่น้ำตามเงื่อนไข
   


-          จากนั้นทำการส่งออกเป็นไฟล์ใหม่ เพราะข้อมูลมีลักษณะชั่วคราว โดยไปคลิกขวาที่ชั้นข้อมูล เลือก Data > Export Data


-Output feature dass คือ กำหนดชื่อและเลือกเก็บผลลัพธ์
      - ให้ตอบ Yes เพื่อนำเข้าข้อมูลมาแสดงผล



 6.การวิเคราะห์พื้นที่ลุ่มน้ำ Basin
      เป็นการคำนวณพื้นที่ลุ่มน้ำว่าอยู่บริเวณใด ใช้ในการจำแนกลุ่มน้ำพื้นที่ 
-          ไปที่ Arc Toolbox  >  Spatial Analyst Tools > Hydrology > Basin จะได้


-Input flow direction raster คือ กำหนดข้อมูลโดยใช้ Flow direction
-Output raster คือ กำหนดชื่อและที่เก็บผลลัพธ์
            จะได้ผลลัพธ์ดังภาพ





 7.การสร้างพื้นที่รับน้ำ Watershed
            การสร้าง Watershed ต้องมี Pour Point  หรือ Outlet  คือเป็นจุดที่น้ำจะไหลออกจากพื้นที่  โดยปกติจะเป็นจุดที่ต่ำที่สุด และอยู่บริเวณขอบของพื้นที่รับน้ำ  และต้องมี Flow Direction ที่จะเป็นข้อมูล Input ดังนั้นจะทำการสร้าง Pour Point มีดังนี้
-          ไปที่  Arc Toolbox > Data Management Tools > Feature Class > Create Feature Class จะได้

-Feature Class Location คือ กำหนดที่เก็บผลลัพธ์
-Feature Class Name คือ ตั้งชื่อ
-Geometry Type (optional) คือ กำหนดรูปแบบเป็น Point

- เมื่อเสร็จ > OK  และทำการดิจิไตล์ข้อมูลจุดที่เป็นทางออกของน้ำมากที่สุดหรือทางน้ำไหลมากที่สุด ขึ้นมา 1 จุด
      - โดยไปที่ Editor > Start Editing > เลือก Pour Point > OK   และทำการเลือกดิจิไตล์จุดที่ต้อง การ


-          เมื่อเสร็จไปคลิกที่ Editor > Stop Editing
-          ต่อไปทำการ Snap Pour Point โดยไปที่ Arc Toolbox > Spatial Analyst Tools > Hydrology > Snap Pour Point  เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อจุดที่ทำ Pour Point กับ Flow  Accumulation


-Input raster or feature pour point data คือ กำหนดข้อมูลจุด Pour Point
-Input accumulation raster คือ กำหนดผลลัพธ์ที่วิเคราะห์ Flow Accumulation
-Output raster คือ กำหนดชื่อและเก็บผลลัพธ์
            จะได้ข้อมูล 1 เซลล์ ณ ตำแหน่ง Pour Point



-          ต่อไปสร้าง Watershed โดยไปที่ Spatial Analyst Tools > Hydrology > Watershed จะได้หน้าต่าง


-Input flow direction raster คือ กำหนดข้อมูลที่ทำ Fill แล้ว คือ FlowDirection
-Input raster or feature pour point data คือ กำหนดผลลัพธ์ที่วิเคราะห์ Snap Pour Point
-Output raster คือ กำหนดชื่อและเก็บผลลัพธ์
      จะได้ผลลัพธ์รูปบริเวณที่เป็นบริเวณรับน้ำ ซึ่งไหลลงไปยังจุด Pour point





-          ต่อไปจะทำการแปลงข้อมูล Watershed ให้เป็นข้อมูลเวกเตอร์  โดยไปที่ Arc Toolbox > Conversion Tools > From Raster > Raster to polygon  จะได้


-Input raster คือ กำหนดผลลัพธ์ที่วิเคราะห์ Watershed
-Output polygon features คือ กำหนดชื่อและผลลัพธ์

      จะได้ผลลัพธ์ เป็นข้อมูลเวกเตอร์



VDO 7



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น