วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

2.การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตาราง



 แลบ 2
1.การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตาราง
          โปรแกรม ArcMap สามารถเชื่อมตารางสองตารางได้ด้วยคำสั่ง Join หรือ Relate ผู้ใช้งานควรศึกษาคำสั่งในการเชื่อมตารางและทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างตารางซึ่งมีอยู่ 4 แบบ   คือ            One-to-One , One – to – Many ,  Many – to – One , Many – to - Many
        -  ตัวอย่างเช่นมีแปลงที่ดินอยู่ 3 แปลง โดยในแต่ละแปลงมีเพียงเจ้าของเพียงคนเดียวและมีตารางข้อ มูลเชิงบรรยายเป็นตารางที่ประกอบด้วยชื่อเจ้าของ  เมื่อเชื่อมต่อตารางด้วยกันจะเป็นความสัมพันธ์แบบ  One – to – One  สำหรับความสัมพันธ์ประเภทนี้ควรเลือกใช้คำสั่ง Join ในการเชื่อมตารางความสัมพันธ์ แบบ One – to – One ในแต่ละฟีเจอร์มีความสัมพันธ์กับตารางเพียงเรคอร์ดเดียว


       - ถ้าแปลงที่ดินสามารถมีได้หลายเจ้าของ ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์เป็นแบบ One – to – Many  ควรเลือกใช้คำสั่ง Relate คือในแต่ละฟีเจอร์มีข้อมูลเพียงหนึ่งเดียวส่วนตารางที่มาเชื่อมจะมีข้อมูลที่ซ้ำกันได้


           -ถ้าหลายๆ แปลงที่ดินมีเจ้าของคนเดียวกันจึงมีความสัมพันธ์แบบ Many – to – One  และควรเลือกใช้คำสั่ง  Join ในการเชื่อมตาราง เพราะตารางหลักจะมีข้อมูลที่ซ้ำกันอยู่แต่ตารางที่มาเชื่อมข้อมูลไม่ซ้ำกัน


        -ถ้า ฟีเจอร์หลายฟีเจอร์สัมพันธ์กับหลายเรคอร์ดในตารางหมายความว่า หลายๆ แปลงที่ดินสามารถมีได้หลายเจ้าของ ความสัมพันธ์แบบนี้จะซับซ้อนและมีความยุ่งยากในการจัดการ  โดยมากจะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความสัมพันธ์แบบนี้  สำหรับความสัมพันธ์แบบนี้ควรเลือกเชื่อมต่อตารางทั้งสองด้วยคำสั่ง Relate ความสัมพันธ์แบบ Many – to – Many  หลายเรคอร์ดในฟีเจอร์สามารถเชื่อมกับหลายเรคอร์ดในตาราง ข้อ --มูลเชิงบรรยาย


 การเชื่อมตารางด้วยคำสั่ง Join
             คำสั่ง Join ออกแบบมาสำหรับใช้งานกับความสัมพันธ์ระหว่างตารางแบบ  One – to – One , Many – to – One  แต่ถ้าหากใช้คำสั่ง Join กับตารางที่มีความสัมพันธ์แบบ One – to – Many หรือ Many – to Many จะทำให้การเชื่อมตารางนั้นเกิดข้อผิดพลาดเพราะข้อมูลบางเรคอร์ดจะขาดหายไป  เนื่องจากเมื่อเชื่อมตารางแล้วจะนำเรคอร์ดแรกเท่านั้นมาเชื่อม สำหรับเรคอร์ดที่เหลือหาแกมีก็จะขาดหายไป
               การเชื่อมตารางด้วยคำสั่ง Join นั้นเป็นการเชื่อมชั่วคราวไม่ถาวรและเมื่อเชื่อมกันแล้วชื่อของฟิลด์ที่ปรากฎจะเปลี่ยนไป โดยจะนำชื่อตารางนำหน้าและเครื่องหมายจุด (.)  ตามด้วยชื่อฟิลด์ เช่น ตารางชุดดิน และตารางประเภทดินมีฟิลด์ที่มีชื่อเดียวกันอยู่คือ Soil_Code (เป็นฟิลด์ประเภทตัวอักษรเก็บค่ารหัสดิน) เมื่อเชื่อมตารางแล้วชื่อของฟิลด์จะเปลี่ยนเป็นชื่อตารางนำหน้าและเครื่องหมายจุด (.) ตามด้วยชื่อฟิลด์   การยกเลิกการเชื่อมต่อกันผู้ใช้สามารถยกเลิกการเชื่อมได้ตามต้องการ

การเชื่อมตารางด้วยคำสั่ง Relates
             การเชื่อมตารางด้วยคำสั่ง Relate ในโปรแกรม ArcMap นั้นมีส่วนที่คล้ายกับคำสั่ง Join คือ ใช้ฟิลด์ทั้ง 2 ตารางเป็นสื่อโดยชื่อของฟิลด์นั้นไม่เหมือนกันได้ แต่ต้องเป็นประเภทเดียวกัน ส่วนที่แตกต่างกัน คือ หลังจากการเชื่อมกันแล้วตารางจะไม่รวมเป็นตารางเดียวกัน  แต่ตารางนั้นจะแยกจากกันเหมือนก่อนการเชื่อมกัน  สำหรับการเข้าถึงข้อมูลนั้นจะทำโดยเลือกข้อมูลจากตารางหนึ่งก่อน  หลังจากนั้นสั่งให้หาเรคอร์ดที่สัมพันธ์กัน
            คำสั่ง Relate เหมาะสำหรับใช้กับตารางที่มีความสัมพันธ์แบบ One-to-many หรือ many-to-many เช่น ตาราง Building Type และตาราง Building มีความสัมพันธ์แบบ One-to-Many (แต่ละ Building Type เชื่อมโยงไปยังตาราง Building มากกว่า 1 เรคอร์ด)  ตารางทั้งสองเชื่อมกันด้วยคำสั่ง Related โดยอาศัยฟิลด์ Building_Type*  หลังจากเลือก Building Type แล้วก็สั่งให้หาความสัมพันธ์กับตาราง Building ก็จะทราบหมายเลขรหัสอาคารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
                เมื่อเรียกใช้คำสั่ง Relate จะปรากฏหน้าต่าง Relate ให้ผู้ใช้เลือกชื่อตาราง ฟิลด์ตามต้องการ เมื่อต้องการเข้าถึงข้อมูลให้เลือกเรคอร์ดที่สนใจจาดตารางหนึ่งก่อนจากนั้นในหน้าต่างให้คลิกปุ่ม Table Options ละเลือก Related Tables จากนั้นเลือกเรคอร์ดที่ต้องการจะ Relate ผลที่ได้คือ ตารางอีกตารางหนึ่งจะเลือกเรคอร์ดที่สัมพันธ์กันออกมา  การหาความสัมพันธ์สามารถหาไปมาระหว่างทั้งสองตารางได้                      
                หากตารางที่จะใช้จำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อทั้งแบบ Joins ละ Relates การ จัดลำดับ การ เชื่อมต่อ ตารางจะมีความสัมพันธ์ต่อการใช้งาน  เนื่องจากหากทำการ Relate ก่อนแล้วนำมา Join ที่หลังจะมีผลทำให้การเชื่อมโดย Relate ถูกตัดไปโดยอัตโนมัติ  ดังนั้นควรทำการ Join ให้เสร็จสิ้นก่อน แล้วจึงใช้คำสั่ง Relate และเมื่อยกเลิกการ Join ในตารางที่มี Relate อยู่จะมีผลทำให้การ Relate นั้นถูกตัดไปโดยอัตโนมัติด้วย

การเชื่อมต่อตาราง Join table
              เป็นการเชื่อมต่อตารางเพื่ออธิบายรหัสหรือให้คำอธิบายรายละเอียดเพิ่มขึ้น  เช่น ชั้นข้อมูลกลุ่มดิน(Soil_grp) ในตารางจะมีแต่รหัสกลุ่มดิน ซึ่งจะไม่ทราบรหัสเหล่านั้นหมายถึงกลุ่มดินใด จึงต้องเชื่อมต่อกับตาราง Soil Code ด้วยฟิลด์ Soil_id ซึ่งเป็นคีย์หลักเหมือนกันทั้ง 2 ตาราง
-    นำเข้าชั้นข้อมูล  Soil_grp และ Soil code จาก RTArcGIS > KANCHANABURI > Kanburi > Soil_grp
-  เปิดตารางชั้นข้อมูล Soil_grp โดยคลิกขวาบน Soil_grp เลือก Open Attribute Table และเปิดตาราง Soil code โดยคลิกขวาเลือก Open ทั้ง 2 ตารางจะมีฟิลด์ Soil_id ที่ตรงกัน



-  เชื่อมต่อตาราง โดยคลิกขวาบนชั้นข้อมูล SOIL_GRP เลือก Joins and Relates > Join จะได้หน้าต่าง Join Data ดังนี้


-    1.Choose the field in this layer that the join will be based on  คือ เลือกฟิลด์ของชั้นข้อมูลที่จะ Join
-     2.Choose the table to join to this layer , or load the table from disk คือ เลือกตารางหรือโหลดตารางที่จะ Join
-     3.Choose the field in the table to base the join on  คือ เลือกฟิลด์ในตารางที่จะ Join
-     Keep all  records คือ แสดงทุกเรคอร์ดในตารางผลลัพธ์
-     Keep only matching records คือ แสดงเฉพาะเรคอร์ดที่ตรงกันในตารางผลลัพธ์
จะเห็นว่าเปิดตาราง Soil_grp  มีฟิลด์ที่เพิ่มเติมจากตารางที่ได้ทำการ  Join เกิดขึ้น



การเชื่อมตารางด้วยคำสั่ง Relate
               เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชั้นข้อมูลที่ต้องการกับตาราง ซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์แบบ 1: M หรือ M:M  ในที่นี้เราจะทำการ Relate ระหว่างชั้นข้อมูลอำเภอและหมู่บ้านในจังหวัดปราจีนบุรีประกอบด้วยชื่ออำเภอที่ไม่ซ้ำกันจึงมีความสัมพันธ์แบบ 1 ส่านตารางหมู่บ้านซึ่งจะมีหลายๆ หมู่บ้านใน 1 อำเภอจึงมีความสัมพันธ์เป็น Many หากจะดูว่าใน 1 อำเภอมีหมู่บ้านใดบ้างนั้น  สามารถทำได้โดยสร้างความสัมพันธ์ด้วยฟิลด์ AMP_CODE ซึ่งมีประเภทฟิลด์เป็น Text  เหมือนกันทั้ง 2 ตาราง
-     ขั้นแรกนำเข้าข้อมูล AMPHOE และ Village_Relate.dbf จาก RTArcGIS > lab 5
-     คลิกขวาที่ชั้นข้อมูล AMPHOE  >  Joins and Relates  >  Relate
-     จะได้หน้าต่าง Relate ดังนี้


-   1.Choose the field in this layer that the relate will be based on : การกำหนดฟิลด์ของชั้นข้อมูล
-   2.Choose the table or layer to relate, or load from disk : เลือกตารางหรือชั้นข้อมูล
-   3.Choose the field in the related table or layer to base the relate on : เลือกฟิลด์ของตารางหรือชั้นข้อมูล
-   4.Choose a name for the relate : กำหนดชื่อความสัมพันธ์ 
จากนั้น > OK  ตารางยังคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง


              การแสดงตารางข้อมูลที่สัมพันธ์กัน  เป็นการแสดงข้อมูลความสัมพันธ์กันระหว่าง 2 ตาราง ซึ่งได้ทำการสร้างความสัมพันธ์ (Relate) ไว้แล้ว
-       เปิดตารางที่ต้องการดูความสัมพันธ์ข้อมูล  โดยคลิกขวาที่ AMPHOE เลือก Open Attribute Table จากนั้นเลือกเรคอร์ดที่ต้องการทราบรายละเอียด เช่น อำเภอนาดีมีหมู่บ้านกี่หมู่บ้าน  โดยคลิกบนช่องสีเทาด้านซ้ายของเรคอร์ด จะแสดงเรคอร์ดที่คลิกเป็นแถบสีฟ้า


-     แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตาราง โดยคลิกปุ่ม Table Options > Related Tables > Relate_Village : Village_Relate


-    โปรแกรมจะเปิดตารางหมู่บ้านที่ได้สร้างความสัมพันธ์ไว้


             ทั้งนี้หมู่บ้านต่างๆ ที่อยู่ในอำเภอนาดีจะถูกเลือก ซึ่งมีจำนวนหมู่บ้านทั้งสิ้น 54 หมู่บ้าน จากทั้งหมด 631 มู่บ้าน
-    การยกเลิก  Relate ที่เราทำไว้ที่  AMPHOE ดังรูป



2.การคำนวนค่าสิถิติ
            การคำนวณค่าทางสถิติ  ฟิลด์ที่สามารถนำมาคำนวณนั้นจะต้องเป็นฟิลด์ที่เก็บจำนวนตัวเลขเท่านั้น  ฟิลด์ที่เก็บข้อมูลตัวอักษรไม่สามารถนำมาคำนวณค่าสถิคิได้
             -   เราจะทำการคำนวณค่าสถิติของ AREA  โดยคลิกขวาที่ฟิลด์ จากนั้นเลือก Statistics


-   จะได้หน้าต่างดังนี้


-    Field คือ ข้อมูลฟิลด์ที่ต้องการที่จะนำมาคำนวณ  
-    ค่าสถิติที่ได้จะประกอบด้วย Count คือจำนวนของอำเภอ  Minimum คือ ค่าต่ำสุด ที่อำเภอมีค่าน้อยที่สุดเป็นต้น และด้านขวาจะเป็นกราฟอย่างง่ายไม่สามารถแก้ไขรูปแบบได้

3. การสร้างกราฟ
             การสร้างกราฟ  โดยคลิกเมนู View > Graphs > Create Graph  หรือ เปิดตารางชั้นข้อมูลที่ต้องการสร้างกราฟจากนั้นคลิกปุ่ม Table Options > Create Graph


 จะได้


-   Graph type คือ เลือกรูปแบบกราฟที่ต้องการ  เช่น เลือกเป็น Vertical Bar
-    Layer/Table คือ เลือกชั้นข้อมูลหรือตารางที่จะสร้างกราฟ ให้เลือกชั้นข้อมูล AMPHOE
-    Value field  คือ กำหนดค่าฟิลด์ที่จะแสดงในกราฟ เลือกเป็น AREA
-    X field ( optional ) คือ ฟิลด์ที่จะอยู่บนแกน X เลือกเป็น AMP_NAME กำหนดการเรียงลำดับได้ให้เลือกเป็น Ascending คือเรียงลำดับตามตัวอักษรจาก A-Z หรือ ก-
-     X  label field คือ กำหนดฟิลด์ที่จะแสดงเป็นป้ายข้อมูลที่แกน X ให้เลือกฟิลด์  AMP_NAME
-     Vertical axis คือ กำหนดแกน Y ให้แสดงด้านซ้าย หรือ ขวา หรือ ทั้งซ้ายทั้งขวา  ให้เลือกเป็น left




-       Horizontal axis คือ กำหนดแกน X ให้แสดงด้านบน หรือ ด้านล่าง หรือทั้งบนและล่าง  ให้เลือกเป็น Bottom




-  Add to legend คือ กำหนดให้แสดงหรือไม่แสดงคำอธิบายสัญลักษณ์




-   Show labels (marks) คือ กำหนดใส่ค่าข้อมูลบนกราฟ ถ้าต้องการใส่ค่าข้อมูล ให้คลิก


-       Color คือ กำหนดสีของกราฟ
Match  with  layer คือ เลือกให้มีสีตรงกับชั้นข้อมูล
Palette คือ เลือกสีตามรูปแบบสีของโปรแกรม
Custom คือ กำหนดสีเอง
-       Bar Style คือ กำหนดรูปแบบกราฟ เช่นเลือกเป็น Rect.Gradient

-     Multiple bar  type คือ การกำหนดประเภทกราฟในกรณีที่มีการสร้างหลายๆ กราฟ ใช้ค่า Default
-     Bar size (%)  คือ กำหนดความกว้างของกราฟแท่งเป็นเปอร์เซ็น
-     Show  border คือ ถ้าคลิกเลือกจะแสดงเส้นขอบของกราฟ
-     ปุ่ม Add คือ ในกราฟเดียวกันสามารถสร้างกราฟจากข้อมูลหลายๆ ชุดข้อมูลได้ ซึ่งเรียกข้อมูลแต่ละชุดว่า Series
-     กำหนดค่าต่างๆ  Next  ต่อไป
จะได้หน้าต่างดังนี้


-   Show all features/records on graph คือ แสดงกราฟทุกฟีเจอร์
-  คือกำหนดให้ฟีเจอร์ ที่เลือกไว้แสดงไฮไลท์
-   คือ กำหนดให้แสดงกราฟเฉพาะข้อมูล ที่ได้เลือกไว้บนแผนที่หรือตารางเท่านั้น
-     Title คือ กำหนดชื่อกราฟ
-     Footer คือ ใส่ข้อความด้านล่างกราฟ
-คือกำหนดให้กราฟแสดงเป็น 3 มิติ
-คือ กำหนดการแสดงสัญลักษณ์กราฟ
-      Title คือ กำหนดชื่อที่ต้องการให้ปรากฏบนสัญลักษณ์
-      Position คือ ตำแหน่งที่ต้องการวางสัญลักษณ์กราฟ

- คือ กำหนดชื่อที่อยู่บนแกน X และ Y ที่ด้ต่างๆ ของกราฟ

เมื่อเสร็จ Finish จะได้กราฟดังนี้


3.1 การแก้ไขตัวอักษรในกราฟ
                -   คลิกขวาที่ใดๆ บนกราฟ เลือก Advanced Properties


-      ถ้าต้องการปรับชื่อกราฟ Title คลิก Chart > Titles > Title > คลิกแท็บ Text > Font กำหนดรูปแบบอักษร ขนาด สี ตัวหนา ตามต้องการ


จะได้


การปรับข้อความที่อยู่บนแกน Y (Left  Axis Title) คลิก Chart > Axis > Left Axis >  คลิกแท็บ Title > Format > Text > Font กำหนดรูปแบบอักษรตามต้องการ


จะได้


-       การปรับข้อความที่อยู่บนแกน X (Bottom Axis Title)  คลิก Chart > Axis > Bottom Axis > คลิกแท็บ Title > Format > Text > Font  และกำหนดรูปแบบตัวอักษรตามต้องการ

จะได้


-       ปรับชื่อสัญลักษณ์ที่อยู่บนแกน X (Bottom Axis Labels)  คลิก Chart > Axis > Bottom Axis > Labels > Text > Font กำหนดรูปแบบตามต้องการ


              จะได้

-       การปรับชื่อคำอธิบายสัญลักษณ์ (Legend Title)  คลิก Chart > Legend >Title > Text > Font จากนั้นกำหนดรูปแบบตามต้องการ


จะได้

-       การปรับข้อความคำอธิบายสัญลักษณ์ (Legend Text) คลิก Chart > Legend > Text > Font จากนั้นกำหนดตามต้องการ


             จะได้


 3.2 การแก้ไขคุณสมบัติของกราฟ
-       การปรับแก้คุณสมบัติของกราฟต่างๆ เช่น เปลี่ยนชื่อกราฟใหม่ หรือ ปรับรูปแบบกราฟจากสี่เหลี่ยมเป็นทรงกระบอก การเพิ่มหรือลบคำอธิบายสัญลักษณ์ โดยปรับแก้คุณสมบัติต่างๆ
-       โดยคลิกขวาบนกราฟ เลือก Properties…
-       คลิกแท็บ Series เลือกปรับคุณสมบัติต่างๆ ใหม่ได้ เช่นที่ Bar style : เลือกเป็นแบบ Cylinder   จากนั้นคลิกแท็บ Appearance ที่ Left title : AREA และคลิก Apply  ตรวจสอบความถูกต้อง  หากไม่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมแล้วให้คลิกปุ่ม OK


จะได้


3.3 การส่งออกกราฟเป็นไฟล์รูปภาพ
-   คลิกขวาที่ตำแหน่งใดๆ บนกราฟ เลือก Export


-                   กำหนดคุณสมบัติต่างๆ ของไฟล์ภาพ คลิกแท็บ Picture กำหนดรูปแบบภาพเป็น as JPEG
-                   ปุ่ม Copy ใช้สำหรับคัดลอกกราฟเพื่อไปวางในโปรแกรมอื่นๆ เช่น Microsoft Word, PowerPoint
-                   ปุ่ม Send ใช้สำหรับส่งกราฟผ่านทาง Email
-                   ปุ่ม Save เลือกที่เก็บข้อมูลที่เราสร้างไว้ 

4. การสร้างรายงาน
             รายงานจะช่วยให้จัดการและแสดงผลข้อมูลตารางที่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงพื้นที่  บางครั้งจำเป็นต้องพิมพ์รายงานเพื่อเผยแพร่กับข้อมูลแผนที่
-  โดยคลิกที่เมนู View > Reports > Create Report


-  จะได้หน้าต่างดังนี้


-Layer/Table :  เลือกชั้นข้อมูลหรือตารางที่ต้องการ
-Available Fields : กำหนดชั้นข้อมูลและฟิลด์ที่ต้องการสร้างรายงาน โดยคลิกปุ่ม58.pngที่ฟิลด์ที่ต้องการสร้างรายงาน
-ฟิลด์ที่เลือกจะย้ายไปอยู่ใน Report Fields : กำหนดการจัดลำดับการแสดงผลข้อมูล โดยคลิกปุ่มลูกศรขึ้นหรือลงและคลิก Next จะได้


-   คลิก Next ต่อไป เพราะเป็นการกำหนดระดับกลุ่ม เช่น การแบ่งข้อมูลเป็นรายภาค เป็นต้น


-   การกำหนดลำดับการจัดเรียงข้อมูล
Fields : ฟิลด์ข้อมูลที่ต้องการจัดเรียง
Sort :  เรียงข้อมูลของฟิลด์จากมากไปน้อย (Descending) หรือน้อยไปมาก (Ascending)ในที่นี้ไม่ต้องกำหนด  คลิก Next ต่อไป


-   กำหนดการจัดวางรายงาน โดยให้แสดงรายงานในแนวตั้ง เลือกเป็น Portrait และคลิกปุ่ม Next


-  กำหนดรูปแบบรายงาน เลือกรูปแบบตามต้องการและคลิกปุ่ม Next


-   กำหนดชื่อรายงาน โดยกำหนดค่าดังภาพ
-   Preview the report. : แสดงตัวอย่างรายงาน
-   Modify the report’s design : แก้ไขการออกแบบรายงาน
-   คลิกปุ่ม Finish  ผลลัพธ์จะได้รายงานตามเงื่อนไขที่กำหนด


-  หากต้องการแก้ไขชื่อฟิลด์และข้อความใดๆ  ทำโดยคลิก Edit


-   เมื่อแก้ไขเสร็จแล้ว ให้คลิกปุ่ม Run Report 67.pngเพื่อแสดงตัวอย่างรายงานที่แก้ไข


-    เราสามารถคลิกปุ่ม Copyรายงานนำไปวางใน Microsoft Word ได้
-   การบันทึกรายงานเป็นไฟล์ถาวร โดยคลิกที่ Saveและเลือกที่เก็บรายงานพร้อมตั้งชื่อตามที่ต้องการ


4.1 การเพิ่มรายงานไปที่ Layout
- การเพิ่มรายงานไปใน Layout View โดยที่หน้าต่าง มีปุ่ม Add Report to ArcMap Layout
 


-                   เลือกช่วงหน้ารายงานที่ต้องการเป็น All  ละคลิกปุ่ม OK  จะได้




VDO 2























































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น